วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556
การอ่านจับใจความ
การอ่านจับใจความ
ความหมายของการอ่านจับใจความสำคัญ คือ การอ่านเพื่อจับใจความหรือข้อคิด ความคิดสำคัญหลักของข้อความ หรือเรื่องที่อ่าน เป็นข้อความที่คลุมข้อความอื่น ๆ ในย่อหน้าหนึ่ง ๆ ไว้ทั้งหมด
ใจความสำคัญ หมายถึง ใจความที่สำคัญ และเด่นที่สุดในย่อหน้า เป็นแก่นของย่อหน้าที่สามารถครอบคลุมเนื้อความในประโยคอื่นๆ ในย่อหน้านั้นหรือประโยคที่สามารถเป็นหัวเรื่องของย่อหน้านั้นได้ ถ้าตัดเนื้อความของประโยคอื่นออกหมด หรือสามารถเป็นใจความหรือประโยคเดี่ยวๆ ได้ โดยไม่ต้องมีประโยคอื่นประกอบ ซึ่งในแต่ละย่อหน้าจะมีประโยคในความสำคัญเพียงประโยคเดียว หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ประโยค
ใจความรอง หรือพลความ(พน-ละ-ความ) หมายถึง ใจความ หรือประโยคที่ขยายความประโยคใจความสำคัญ เป็นใจความสนับสนุนใจความสำคัญให้ชัดเจนขึ้น อาจเป็นการอธิบายให้รายละเอียด ให้คำจำกัดความ ยกตัวอย่าง เปรียบเทียบ หรือแสดงเหตุผลอย่างถี่ถ้วน เพื่อสนับสนุนความคิด ส่วนที่มิใช่ใจความสำคัญ และมิใช่ใจความรอง แต่ช่วยขยายความให้มากขึ้น คือ รายละเอียด
หลักการจับใจความสำคัญ
๑. ตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่านให้ชัดเจน
๒. อ่านเรื่องราวอย่างคร่าวๆ พอเข้าใจ และเก็บใจความสำคัญของแต่ละย่อหน้า
๓. เมื่ออ่านจบให้ตั้งคำถามตนเองว่า เรื่องที่อ่าน มีใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร
๔. นำสิ่งที่สรุปได้มาเรียบเรียงใจความสำคัญใหม่ด้วยสำนวนของตนเองเพื่อให้เกิดความสละสลวย
วิธีจับใจความสำคัญ
วิธีการจับใจความมีหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับความชอบว่าอย่างไร เช่น การขีดเส้นใต้ การใช้สีต่างๆ กัน แสดงความสำคัญมากน้อยของข้อความ การบันทึกย่อเป็นส่วนหนึ่งของการอ่านจับใจความสำคัญที่ดี แต่ผู้ที่ย่อควรย่อด้วยสำนวนภาษาและสำนวนของตนเองไม่ควรย่อด้วยการตัดเอาข้อความสำคัญมาเรียงต่อกัน เพราะอาจทำให้ผู้อ่านพลาดสาระสำคัญบางตอนไปอันเป็นเหตุให้การตีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนได้ วิธีจับใจความสำคัญมีหลักดังนี้
๑. พิจารณาทีละย่อหน้า หาประโยคใจความสำคัญของแต่ละย่อหน้า
๒. ตัดส่วนที่เป็นรายละเอียดออกได้ เช่น ตัวอย่าง สำนวนโวหาร อุปมาอุปไมย(การเปรียบเทียบ) ตัวเลข สถิติ ตลอดจนคำถามหรือคำพูดของผู้เขียนซึ่งเป็นส่วนขยายใจความสำคัญ
๓. สรุปใจความสำคัญด้วยสำนวนภาษาของตนเอง
การพิจารณาตำแหน่งใจความสำคัญ
ใจความสำคัญของข้อความในแต่ละย่อหน้าจะปรากฏดังนี้
๑. ประโยคใจความสำคัญอยู่ตอนต้นของย่อหน้า
๒. ประโยคใจความสำคัญอยู่ตอนกลางของย่อหน้า
๓. ประโยคใจความสำคัญอยู่ตอนท้ายของย่อหน้า
๔. ประโยคใจความสำคัญอยู่ตอนต้นและตอนท้ายของย่อหน้า
๕. ผู้อ่านสรุปขึ้นเอง จากการอ่านทั้งย่อหน้า(ในกรณีใจความสำคัญหรือความคิดสำคัญอาจอยู่รวมในความคิดย่อย ๆ โดยไม่มีความคิดที่เป็นประโยคหลัก)
มารยาทการฟังและดูให้มีประสิทธิภาพ
มารยาทการฟังและดูให้มีประสิทธิภาพ
มารยาทในการฟังและการดูถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรยึดถือปฏิบัติ เพราะหากขาดมารยาท
ที่ดีจะทำให้ขาดผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพในการรับสาร นอกจากนี้ยังเป็นการไม่ให้เกียรติผู้ส่งสารและทำให้เสียเวลาในการฟังและการ ดูไปอย่างเปล่าประโยชน์
๑. การฟังหรือดูเฉพาะหน้าผู้ใหญ่ ควรสำรวมกิริยาอาการ สบตาผู้พูดเป็นระยะ ๆ ให้พอเหมาะ ไม่ชิงพูดก่อนที่จะพูดจบความ เมื่อไม่เข้าใจให้ถามเมื่อผู้ใหญ่พูดจบกระแสความ
๑. การฟังหรือดูเฉพาะหน้าผู้ใหญ่ ควรสำรวมกิริยาอาการ สบตาผู้พูดเป็นระยะ ๆ ให้พอเหมาะ ไม่ชิงพูดก่อนที่จะพูดจบความ เมื่อไม่เข้าใจให้ถามเมื่อผู้ใหญ่พูดจบกระแสความ
๒. การฟังหรือดูในห้องประชุม ตั้งใจฟัง จดบันทึกสาระสำคัญ ไม่กระซิบพูดกัน ไม่ทำกิจส่วนตัว ถ้าจะพูดให้ยกมือขออนุญาตจากประธานในที่ประชุมก่อน
๓. การฟังหรือดูการพูดในที่ประชุม การฟังหรือดูการพูดอภิปราย บรรยาย
ปราฐกถา ต้องฟังด้วยความสำรวม แสดงความสนใจ ถ้าจะซักถามหรือแสดงความคิดเห็น ควรรอให้การพูดนั้นสิ้นสุดลงก่อน
๔. การฟังหรือดูในที่สาธารณะ ต้องรักษาความสงบและเพื่อไม่ให้รบกวนสมาธิของผู้พูด ไม่ควรเดินเข้าออกพลุกพล่าน ไม่พูดคุยเสียงดัง ซึ่งถือว่าเป็นการแสดงความไม่รู้กาลเทศะและไม่ให้เกียรติผู้พูด
การรับสารโดยใช้ทักษะการฟัง การดูเพื่อให้สัมฤทธิผลนั้น ผู้รับสารต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ในการฟัง การดู เพื่อให้การรับสารมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยการพิจารณาสาร แยกแยะข้อเท็จจริงและสรุปใจความสำคัญ วิเคราะห์ ใคร่ครวญ วินิจสารและประเมินค่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยการหมั่นฝึกฝนเป็นประจำ จึงจะช่วยให้ผู้รับสารสามารถนำสารที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิต ประจำวันได้อย่างสัมฤทธิผล
การรับสารโดยใช้ทักษะการฟัง การดูเพื่อให้สัมฤทธิผลนั้น ผู้รับสารต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ในการฟัง การดู เพื่อให้การรับสารมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยการพิจารณาสาร แยกแยะข้อเท็จจริงและสรุปใจความสำคัญ วิเคราะห์ ใคร่ครวญ วินิจสารและประเมินค่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยการหมั่นฝึกฝนเป็นประจำ จึงจะช่วยให้ผู้รับสารสามารถนำสารที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิต ประจำวันได้อย่างสัมฤทธิผล
คำซ้ำ
คำซ้ำ
คำซ้ำ คือ คำที่เกิดจากการซ้ำเสียงคำเดียวกันตั้งแต่ ๒ หน ขึ้นไป เพื่อทำให้เกิดคำใหม่ได้ความหมายใหม่ เช่น ดำ ๆ หวาน ๆ คอยค้อยคอย
ชนิดของคำไทยที่เอามาซ้ำกัน ในภาษาไทยเราสามารถเอาคำทุกชนิดมาซ้ำได้ ดังนี้
๑. ซ้ำคำนาม เช่น พี่ๆ น้องๆ เด็กๆ
๒. ซ้ำคำสรรพนาม เช่น เขาๆ เราๆ คุณๆ
๓. ซ้ำคำวิเศษณ์ เช่น เร็วๆ ไวๆ ช้าๆ
๔. ซ้ำคำกริยา เช่น เดินๆ นั่งๆ นอนๆ
๕. ซ้ำคำบุพบท เช่น บนๆ ล่างๆ ใกล้ๆ ไกลๆ
๖. ซ้ำคำสันธาน เช่น ทั้งๆ เหมือนๆ
๗. ซ้ำคำอุทาน เช่น โฮๆ กรี๊ดๆ อุ้ยๆ
ชนิดของการซ้ำคำในภาษาไทย
๑. ซ้ำคำเดียวกัน ๒ หน ระดับเสียงวรรณยุกต์คงเดิม เช่น เร็ว ๆ หนุ่ม ๆ หนัก ๆ เบา ๆ
๒. ซ้ำคำเดียวกัน ๒ หน โดยเน้นระดับเสียงวรรณยุกต์ที่คำหน้า
เช่น ว้านหวาน นักหนัก จ๊นจน อร้อยอร่อย
๓. ซ้ำคำเดียวกัน ๓ หน โดยเน้นระดับเสียงวรรณยุกต์ที่พยางค์หลังของคำหน้า
เช่น จืดจื๊ดจืด สวยซ้วยสวย
๔. ซ้ำคำประสม ๒ พยางค์ ๒ หน โดยเน้นระดับเสียงวรรณยุกต์ที่พยางค์หลังของคำหน้า
เช่น เจ็บใจ๊เจ็บใจ ดีใจ๊ดีใจ ยินดี๊ยินดี
๕. ซ้ำคำเดียวกัน ๒ หน ระดับเสียงวรรณยุกต์คงเดิม แต่การกร่อนเสียงขึ้น
อย่างที่บาลี เรียกว่า อัพภาส และสันสกฤต เรียกว่า อัภยภาส เช่น ลิ่ว ๆ เป็น ละลิ่ว
ครืน ๆ เป็น คระครืน ซึ่งโดยมากใช้คำประพันธ์
ลักษณะความหมายของคำซ้ำ
๑. บอกความหมายเป็นพหูพจน์ มักเป็นคำนาม และสรรพนาม
เช่น เด็ก ๆ กำลังร้องเพลง พี่ ๆ โรงเรียน หนุ่ม ๆ กำลังเล่นฟุตบอล
๒. บอกความหมายเป็นเอกพจน์ แยกจำนวนออกเป็นส่วน ๆ มักเป็นคำลักษณนาม
เช่น ล้างชามให้สะอาดเป็นใบ ๆ อ่านหนังสือเป็นเรื่อง ๆ ไสกบไม้เป็นแผ่น ๆ
๓. เน้นความหมายของคำเดิม มักเป็นคำวิเศษณ์ เช่น พูดดัง ๆ ฟังดี ๆ นั่งนิ่ง ๆ
ถ้าต้องการเน้นให้เป็นจริงเป็นจังอย่างมั่นใจมากขึ้น เราก็เน้นระดับเสียงวรรณยุกต์ที่คำหน้า
เช่น เสียงดั๊งดัง พูดดี๊ดี ตัวด้ำดำ
๔. ลดความหมายของคำเดิม มักเป็นคำวิเศษณ์บอกสี เช่น เสื้อสีแดง ๆ กางเกงสีดำ ๆ บ้านสีขาว ๆ
๕. บอกความหมายโดยประมาณ ทั้งที่เกี่ยวกับเวลา และสถานที่ ดังนี้
ก. บอกเวลาโดยประมาณ เช่น สมศรีชอบเดินเล่นเวลาเย็น ๆ
เขาตื่นเช้า ๆ เสมอ
น้ำค้างจะลงหนักเวลาดึก ๆ
ข. บอกสถานที่โดยประมาณ เช่น มีร้านหนังสือแถว ๆ สี่แยก
รถคว่ำกลาง ๆ สะพาน
ต้นประดู่ใหญ่อยู่ใกล้ ๆ โรงเรียน
๖. บอกความหมายสลับกัน เช่น เขาเดินเข้า ๆ ออก ๆ อยู่ตั้งนานแล้ว ฉันหลับ ๆ ตื่น ๆ ตลอดคืน
๗. บอกความหมายเป็นสำนวน เช่น งู ๆ ปลา ๆ (ไม่รู้จริง, รู้นิดหน่อย)
ดี ๆ ชั่ว ๆ (ดีร้าย)
ไป ๆ มา ๆ (ในที่สุด)
ถู ๆ ไถ ๆ (แก้ข้อขัดข้องพอให้ลุล่วงไปได้)
๘. บอกความหมายแสดงการเปรียบเทียบขั้นปกติ ขั้นกว่า และขั้นสุด เช่น
ขั้นปกติ
|
ขั้นกว่า
|
ขั้นสุด
|
เชย ๆ
|
เชย
|
เช้ยเชย
|
หลวม ๆ
|
หลวม
|
ล้วมหลวม
|
เบา ๆ
|
เบา
|
เบ๊าเบา
|
การสร้างคำแบบคำประสม คำซ้อนและคำซ้ำ นี่เป็นวิธีการสร้างคำที่เป็นระเบียบวิธีของภาษาไทยของเราเอง แต่การสร้างคำใหม่ในภาษาไทยไม่ได้พียง ๔ วิธี เท่านั้น เรายังมีวิธีการสร้างคำใหม่ ๆ ขึ้นใช้ในภาษาไทยด้วยวิธีการ
อื่น ๆ อีก
(คัดจากหนังสือหลักภาษา และการใช้ภาษา ประสิทธิ์ กาพย์กลอน และคณะ สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช พ.ศ. ๒๕๒๓)
คำซ้อน
คำซ้อน
ความหมาย
คำซ้อน คือ
คำที่เกิดจากการเอาคำมูลที่มีความหมายเหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกัน
เป็นคำประเภทเดียวกัน ตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป
มาเรียงซ้อนกันเพื่อให้ได้ความหมายชัดเจนขึ้น เช่น เสื่อสาด อ้วนพี ใหญ่โต
คำซ้อนนี้บางทีเรียกว่าคำไวพจน์ผสม (Synonymous compound)
สาเหตุการเกิด
และประโยชน์ของคำซ้อน
๑. คำไทย
คำเดียวนั้นอาจมีความหมายได้หลายอย่าง
หากพูดเพียงคำเดียวอาจทำให้เข้าใจความหมายผิดพลาดไป
จึงต้องซ้อนคำเพื่อบอกความหมายให้ชัดเจน เช่น
ตา
(อวัยวะ) ใช้ซ้อนกับ นัยน์ เป็น นัยน์ตา
ขับ (ไล่) ใช้ซ้อนกับ ไล่ เป็น ขับไล่
ขับ
(ร้องเพลง) ใช้ซ้อนกับ กล่อม เป็น ขับกล่อม
ขัด
(ทำให้สะอาด)ใช้ซ้อนกับ ถู เป็น ขัดถู
ขัด
(ไม่สะดวก) ใช้ซ้อนกับ ขวาง เป็น ขัดขวาง
๒. คำไทยมีพ้องเสียงมาก
ถ้าพูดคำเดียวก็ยากที่จะเข้าใจความหมายได้ จึงต้องใช้คำที่มีความหมายเหมือนกัน
หรือคล้ายคลึงกันเป็นประเภทเดียวกันมาซ้อนไว้ เพื่อบอกความหมายให้ชัดเจน เช่น
ค่า ใช้ซ้อนกับ งวด
เป็น ค่างวด
ฆ่า ใช้ซ้อนกับ ฟัน เป็น ฆ่าฟัน
ข้า ใช้ซ้อนกับ ทาส เป็น ข้าทาส
มั่น ใช้ซ้อนกับ คง เป็น มั่นคง
หมั้น ใช้ซ้อนกับ หมาย เป็น หมั้นหมาย
๓. ภาษาไทย เป็นภาษามีวรรณยุกต์ คำไทยที่มีสระ และพยัญชนะเดียวกัน
มีเสียงวรรณยุกต์ต่างกันเพียงเล็กน้อย
ความหมายของคำก็จะแตกต่างกันไปด้วย ถ้าฟังผิดเพี้ยนไป หรือฟังไม่ถนัด
ก็จะทำให้เข้าใจความหมายผิดพลาดได้ ดังนั้น จึงต้องมีการซ้อนคำขึ้น
เพื่อกำกับความหมายให้ชัดเจน เช่น
เสือ ใช้ซ้อนกับ สาง เป็น เสือสาง
เสื่อ ใช้ซ้อนกับ สาด เป็น เสื่อสาด
เสื้อ ใช้ซ้อนกับ ผ้า เป็น เสื้อผ้า
ถ้อย ใช้ซ้อนกับ คำ เป็น ถ้อยคำ
ค่ำ ใช้ซ้อนกับ คืน เป็น ค่ำคืน
๔. คำไทยส่วนมากเป็นพยางค์เดียว
เวลาพูดอาจฟังไม่ทัน หรือฟังไม่ถนัด ก็จะเข้าใจความหมายผิดพลาดได้
เราจึงซ้อนคำเพื่อบอกความหมายได้ชัดเจน
เช่น
ปัด ใช้ซ้อนกับ กวาด
เป็น ปัดกวาด
ขัด ใช้ซ้อนกับ ขวาง เป็น ขัดขวาง
เช็ด ใช้ซ้อนกับ ถู เป็น เช็ดถู
อบ ใช้ซ้อนกับ รม เป็น อบรม
คับ ใช้ซ้อนกับ แคบ เป็น คับแคบ
อนึ่ง
บางครั้งเรานำภาษาถิ่นมาซ้อนไว้ และภาษาถิ่นบางคำเริ่มเลือนหายไปจนเข้าใจไปว่า
คำที่เอามาซ้อนนั้นเป็นอุทานสร้อยบท เพราะไม่เข้าความหมายทั้ง ๆ
ที่ภาษาถิ่นนั้นยังเป็นภาษาที่มีใช้อยู่
เช่น
เปื้อนแปด ใช้ซ้อนกับ แปด
(ถิ่นอีสาน หมายถึง เปื้อน) เป็น แปดเปื้อน
คอยท่า ใช้ซ้อนกับ ท่า (ถิ่นใต้ หมายถึง คอย) เป็น คอยท่า
๕.
ภาษาไทยเรามีคำที่มาจากภาษาต่างประเทศปะปนอยู่มาก เช่น
คำบาลี สันสกฤต ภาษาเขมร เป็นต้น ระยะแรก ๆ
ก็ยังไม่เข้าใจความหมายของคำกันอย่างแพร่หลาย
จึงต้องนำคำไทยที่มีความหมายเหมือนกัน
หรือคล้ายคลึงเป็นประเภทเดียวกันมาเรียงซ้อนไว้ เพื่อขยายความหมายให้ชัดเจน เช่น
ทรัพย์ ใช้ซ้อนกับ สิน เป็น ทรัพย์สิน
ซาก ใช้ซ้อนกับ ศพ เป็น ซากศพ
เขียว ใช้ซ้อนกับ ขจี เป็น เขียวขจี
รูป ใช้ซ้อนกับ ร่าง เป็น รูปร่าง
ลักษณะของคำซ้อนในภาษาไทย
คำซ้อนในระยะแรก ๆ
คงเป็นเพียงคำไทยซ้อนกับคำไทย ซึ่งอาจเป็นคำไทยกลางซ้อนกับคำไทยกลาง หรือคำไทยกลางซ้อนกับคำไทยถิ่น ต่อมาเมื่อเรารับคำภาษาต่างประเทศมาใช้
เราก็ใช้คำไทยซ้อนกับคำต่างประเทศ โดยใช้คำไทยเรียงไว้ข้างหน้าบ้าน ข้างหลังบ้าน
หรือใช้คำต่างประเทศซ้อนกันเองก็มี ดังนั้น คำซ้อนจึงมีหลายลักษณะ ดังนี้
๑.
คำไทยกลางซ้อนกับคำไทยกลาง เช่น
หัวหู แข้งขา เก้อเขิน แก้ไข
ใหญ่โต หน้าตา บ้านเรือน ดินฟ้า
เป็ดไก่ โต้แย้ง ทักท้วง ชุกชุม
๒.
คำไทยกลางซ้อนกับคำไทยถิ่น เช่น
พัดวี - วี ภาษาถิ่นใต้ หมายถึง พัด
เสื่อสาด - สาด ภาษาถิ่นใต้ หมายถึง เสื่อ
อ้วนพี - พี ภาษาถิ่นใต้ หมายถึง อ้วน
เข็ดหลาบ - หลาบ ภาษาถิ่นใต้ หมายถึง เข็ด
เติบโต -
เติบ ภาษาถิ่นใต้ หมายถึง โต
อิดโรย - อิด ภาษาถิ่นเหนือ หมายถึง เหนื่อย
ละทิ้ง - ทิ้ง ภาษาถิ่นเหนือ หมายถึง ทิ้ง
เก็บหอม - หอม ภาษาถิ่นอีสาน หมายถึง ออม
บาดแผล -
แผล ภาษาถิ่นอีสาน หมายถึง แผล
ยุ่งยาก - ยาก ภาษาถิ่นอีสาน หมายถึง ยุ่ง
มากหลาย - หลาย ภาษาถิ่นอีสาน หมายถึง มาก
๓.
คำไทยกลางซ้อนกับคำต่างประเทศ เช่น
ข้าทาส - ทาส ภาษาบาลี - สันสกฤต
จิตใจ - จิต ภาษาบาลี
ทรัพย์สิน - ทรัพย์ ภาษาสันสกฤต
โง่เขลา - เขลา ภาษาเขมร
แบบแปลน - แปลน ภาษาอังกฤษ - plan
๔.
คำต่างประเทศซ้อนกับคำต่างประเทศ
เช่น
สรงสนาน - สรง ภาษาเขมร
สนาน
ภาษาสันสกฤต
ทรัพย์สมบัติ - ทรัพย์ ภาษาสันสกฤต
สมบัติ ภาษาบาลี
เหตุการณ์ - เหตุ, การณ์ ภาษาบาลี
รูปทรง - รูป ภาษาบาลี
ทรง ภาษาเขมร
อิทธิฤทธิ์ - อิทธิ ภาษาบาลี
ฤทธิ์ ภาษาสันสกฤต
เลอเลิศ - เลอ, เลิศ ภาษาเขมร
เฉลิมฉลอง - เฉลิม, ฉลอง ภาษาเขมร
๕. คำซ้อนที่ซ้อนทับกัน ๒ คู่ จะปรากฏในลักษณะ ดังนี้
ก. มีสัมผัสที่คู่กลาง เช่น
อุปถัมภ์ค้ำชู
ล้มหายตายจาก ไฟไหม้ไต้ลน
ยากเย็นเข็ญใจ
เจ็บไข้ได้ป่วย
ยิ้มแย้มแจ่มใส เจ็บท้องข้องใจ ซื้อง่ายขายคล่อง
วัดวาอาราม ถ้วยโถโอชาม บ้านช่องห้องหอ เลี้ยงดูปูเสื่อ
เก็บหอมรอมริบ ลูกท่านหลานเธอ เจ้าขุนมูลนาย ติดสอยห้อยตาม
จับมือถือแขน
แลบลิ้นปลิ้นตา ว่านอนสอนง่าย กำเริบเสิบสาน
กินเหล้าเมายา
ขี้หดตดหาย ขนมนมเนย ปู่ยาตายาย
ข. มีพยางค์นำหน้าซ้ำกัน เช่น
ปากเปียกปากแฉะ
ชั่วครู่ชั่วยาม ถึงพริกถึงขิง อาบน้ำอาบท่า
กินข้าวกินปลา น้ำหูน้ำตา เป็นฟืนเป็นไฟ ผีเข้าผีออก
คุ้มดีคุ้มร้าย มีชื่อมีเสียง มิดีมิร้าย พอดีพอร้าย
ความคิดความอ่าน หนักอกหนักใจ ไม่มากไม่น้อย ไม่ได้ไม่เสีย
ลักษณะของคำซ้อน ดังที่กล่าวมานี้ จะสังเกตเห็นว่า
๑. ถ้าคำหน้ามีพยางค์เดียว
คำที่นำมาซ้อนจะใช้คำพยางค์เดียว ถ้าคำหน้ามี
๒ พยางค์ คำที่นำมาซ้อนจะใช้คำ ๒
พยางค์ด้วย ทั้งนี้เพื่อการถ่วงดุลทางเสียง
๒. คำที่นำมาซ้อนกันมักเป็นคำประเภทเดียวกันทั้งนั้น เพราะช่วยขยายความหมายให้ชัดเจนขึ้นตาม
ตัวอย่าง
(คำนาม - คำนาม) เช่น แข้งขา ม้าลา บ้านเรือน เลือดไร
(คำกริยา - คำกริยา) เช่น ดูดดื่ม เหลียวแล ร้องรำ กดขี่
(คำวิเศษณ์ - คำวิเศษณ์)
เช่น ขมขื่น ซื่อตรง ใหญ่โต
เร็วไว
ลักษณะของความหมายที่เกิดจากคำซ้อน
เมื่อนำคำซ้อนกันแล้ว จะเกิดความหมายขึ้นในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
๑. ความหมายคงเดิม คือ ความหมายก็คงไม่เปลี่ยนแปลง เช่น
ซากศพ อ้วนพี โต้แย้ง
สูญหาย
๒. ความหมายกว้างออก คือ ความหมายจะกว้างกว่าความหมายในคำเดิม เช่น
ตับไตไส้พุง หมายถึง อวัยวะภายในอะไรก็ได้ ไม่ได้หมายความเฉพาะอวัยวะ
๔ อย่างนี้เท่านั้น
ไฟไหม้ไต้ลน หมายถึง
ร้อนอกร้อนใจ
หมูเห็ดเป็ดไก่ หมายถึง
อาหารหลายชนิด
ถ้วยโถโอชาม หมายถึง
ภาชนะที่ใช้ในครัว
ปู่ย่าตายาย หมายถึง
บรรพบุรุษ
ขนมนมเนย หมายถึง
อาหารประเภทของหวาน
๓. ความหมายย้ายที่ คือ ความหมายจะเป็นอย่างอื่นซึ่งไม่ตรงกับความหมายของคำเดิม เช่น
ขมขื่น หมายถึง
ความรู้สึกเป็นทุกข์
เหลียวแล หมายถึง
การเอาใจใส่เป็นธุระ
เดือดร้อน หมายถึง
ความลำบากใจ
เบิกบาน หมายถึง
ความรู้สึกร่าเริงแจ่มใส
ดูดดื่ม หมายถึง
ความซาบซึ้ง
๔. ความหมายอยู่ที่คำหน้า เช่น
เป็นลมเป็นแล้ง ขันหมากรากพลู ใต้ถุนรุนช่อง
อายุอานาม ความคิดความอ่าน มีชื่อมีเสียง
ใจคอ
(ไม่ค่อยจะดี) หัวหู
(ยุ่งเหยิง) มิดีมิร้าย
๕. ความหมายอยู่ที่คำหลัง เช่น
เสียอกเสียใจ ดีอกดีใจ ว่านอนสอนง่าย
ตั้งเนื้อตั้งตัว เครื่องไม้เครื่องมือ หูตา (มืดมัว)
๖. ความหมายอยู่ที่คำต้น และคำท้าย เช่น
ผลหมากรากไม้ อดตาหลับขับตานอน ตกไร้ได้ยาก
ติดสอยห้อยตาม เคราะห์หามยามร้าย ชอบมาพากล
๗. ได้ความหมายทั้งสองคำ เช่น
ดินฟ้าอากาศ เอวบางร่างน้อย ยศถาบรรดาศักดิ์
อำนาจวาสนา บุญญาบารมี ปู่ย่าตายาย
๘. ความหมายของคำคู่หน้า กับคู่หลัง
ตรงกันข้าม เช่น
หน้าไหว้หลังหลอก ปากหวานก้นเปรี้ยว หน้าเนื้อใจเสือ
หน้าชื่นอกตรม ปากปราศรัยน้ำใจเชือดคอ ไม่มากไม่น้อย
๙. คำ ๆ เดียวกัน เมื่อนำคำต่างกันมาซ้อน
จะทำให้ได้ความหมายต่าง ๆ กันออกไป เช่น
แน่น - แน่นหนา แน่นแฟ้น
กีด - กีดกัน กีดขวาง
หลอก - หลอกลวง
หลอกล่อ
หลอกหลอน
คม
- คมคาย คมขำ คมสัน
แอบ - แอบแง แอบอ้าง แอบแฟง
ขัด - ขัดสน ขัดข้อง
ขัดขืน ขัดขวาง ขัดยอก
มีคำซ้อนอยู่ชนิดหนึ่งที่เกิดจากการเอาคำมาซ้อนกัน
เพื่อประโยชน์ทางการออกเสียงคำที่นำมาซ้อนกันนั้น จะเป็นคำที่มีความหมาย
หรือไม่มีความหมายก็ได้ โดยมากจะเป็นคำที่มีพยัญชนะต้น และตัวสะกดเดียวกัน
แต่ใช้เสียงสระต่างดัน สระที่ต่างกันนี้จะเป็นสระที่ออกเสียงคู่กันได้สะดวก เช่น
งอแง อึกอัก โซเซ
เป็นต้น
คำซ้อนดังกล่าวนี้เราเรียกว่า “คำซ้อนเพื่อเสียง”
ลักษณะของคำซ้อนเพื่อเสียง
คำซ้อนเพื่อเสียงหลายลักษณะ
ดังนี้
๑. คำที่ซ้อนกันเพื่อไม่ให้เสียงคอนกัน ซึ่งได้แก่ลักษณะดังต่อไปนี้
ก. คำ ๒ คำ ที่ซ้อนกัน (คำแรกมีพยางค์มากกว่าคำหลัง)
ทำให้เสียงคอนกัน จึงเอาพยางค์แรกของคำหน้ามาเติมลงหน้าคำที่มีพยางค์น้อยกว่า
เพื่อถ่วงดุลทางเสียงให้เท่ากัน ทำให้ออกเสียงได้สะดวก และรื่นหูขึ้น เช่น ขโมย เป็น ขโมยขโจร
จมูกปาก เป็น จมูกจปาก
โกหกไหว้ เป็น โกหกโกไหว้
สะกิดเกา เป็น สะกิดสะเกา
พยศเกียรติ เป็น พยศพเกียรติ
ข. คำ ๒ คำ ที่ซ้อนกัน
โดยเฉพาะคำหน้าที่มีตัวสะกดในแม่ กน
เราออกเสียงตัวสะกดของคำหน้าเหมือนคำสมาสไป
เช่น ดุกดิก เป็น
ดุกกะดิก
ซึ่งทำให้เสียงคอนกัน
จึงเติมพยางค์ กะ หรือ
กระ ลงข้างหน้าคำ เพื่อถ่วงดุลทางเสียงให้เท่ากัน ทำให้ออกเสียงได้สะดวก เช่น
ดุกดิก ออกเสียงเป็น ดุกกะดิก เป็น กระดุกกระดิก
โดกเดก ออกเสียงเป็น โดกกะเดก เป็น กระโดกกระเดก
จุกจิก ออกเสียงเป็น จุกกะจิก เป็น กระจุกกระจิก
เสือกสน ออกเสียงเป็น เสือกกะสน
เป็น กระเสือกกระสน
โตกตาก ออกเสียงเป็น โตกกะตาก เป็น กระโตกกระตาก
ปลกเปลี้ย ออกเสียงเป็น ปลกกะเปลี้ย เป็น กระปลกกระเปลี้ย
ค. คำ ๒ คำ ที่ซ้อนกัน คำหน้าไม่มีตัวสะกดในแม่ กก
แต่เราเติมเสียง กะ หรือ กระ ลงหน้าคำหน้า
และหน้าคำหลัง เพื่อให้ออกเสียงได้สะดวก
และรูปคำสละสลวยขึ้น เช่น
รุ่งริ่ง เป็น กะรุ่งกะริ่ง
เล่อล่า เป็น กะเล่อกะล่า
ชุ่มชวย เป็น กระชุ่มกระชวย
จุ๋มจิ๋ม เป็น กระจุ๋มกระจิ๋ม
ฉับเฉง เป็น กระฉับกระเฉง
๒. คำซ้อนเพื่อเสียงที่เกิดขึ้นเพราะการยืดเสียงจากพยางค์เดียวออกเป็น
๒ พยางค์
คำหลังนี้เกิดขึ้นในพยัญชนะตัวเดียวกับคำหน้า
ส่วนสระจะเป็นสระอะไรก็ได้แล้วแต่เสียงจะหลุดปากออกไป
คำหลังนี้อาจจะมีความหมายอยู่ในภาษาถิ่นหรือไม่มีความหมายเลยก็ได้ เช่น
พูด เป็น พูดเพิด
แว่น เป็น แว่นเวิ่น
กิน เป็น กินแก็น
ซื้อ เป็น ซื้อเซ้อ
(เซ้อ - ภาษาถิ่นใต้ หมายถึง
ซื้อ)
กวาด เป็น กวาดแกวด
(แกวด - ภาษาถิ่นไทยขาว หมายถึง
กวาด)
๓.
คำที่ซ้อนเพื่อเสียงที่เกิดจากสระออกเสียงคู่กัน เพราะใช้สระในระดับของลิ้น
หรือส่วนของลิ้นเดียวกัน
ทำให้ได้คำคู่ ๒ พยางค์ ที่ออกเสียงได้สะดวกรื่นหู
และรูปคำสละสลวยขึ้น ดังนี้
ภาพแสดงระดับ
และส่วนของลิ้นในการออกเสียงสระ
ลิ้นส่วนหน้า
|
ลิ้นส่วนกลาง
|
ลิ้นส่วนหลัง
|
อิ อี
|
อึ อือ
|
อุ อู
|
เอะ เอ
|
เออะ เออ
|
โอะ โอ
|
แอะ แอ
|
อะ อา
|
เอาะ ออ
|
ลิ้นระดับสูง
ลิ้นระดับกลาง
ลิ้นระดับต่ำ
ก. สระในระดับของลิ้นเดียวกันออกเสียงคู่กัน
มักจะออกเสียงสระหลังก่อนแล้วจึงออกเสียงสระหน้า เช่น สระหลัง สระหน้า
อุ อู
อิ อี - จู้จี้ อู้อี้
สูสี บู้บี้ คู่คี่ สุงสิง ยุ่งยิ่ง ตุ้งติ้ง
หนุงหนิง ซุบซิบ จุบจิบ
จุ๋มจิ๋ม นุ่มนิ่ม กรุ้มกริ่ม หยุมหยิม
โอะ
โอ เอะ เอ - โมเม โซเซ
โอ้เอ้ โย้เย้ โยเย
โผเผ โต๋เต๋ โด่เด่
โตงเตง โยงเยง โกกเกก
โยกเยก โงนเงน
โอนเอน
เอาะ
ออ แอะ แอ
- อ้อแอ้ ร่อแร่ ป้อแป้
ยอแย ท้อแท้ งอแง
จ้อกแจ้ก ลอกแลก วอกแวก
เกาะแกะ เหลาะแหละ
เตาะแตะ เปาะแปะ ออดแอด
งอดแงด งอมแงม มอมแมม หร็อมแหร็ม ยอบแยบ
ข. สระในส่วนของลิ้นเดียวกันออกเสียงคู่กัน แต่เสียงตัวสะกดผิดกัน เช่น
อะ อา
- กลับกลาย ยักย้าย
ทักทาย ถากถาง อับอาย
จับจ่าย
อุ อู - ปุกปุย
หลุดลุ่ย ทุดถุย ขลุกขลุ่ย
บุบบู้ รุบรู้ คุดคู้
อุดอู้ ตุ๊ดตู่
โอ
โอ - โกงโก้
โยงโย่
ออ
ออ - ต๊อกต๋อย หย็อกหย็อย
ซอมซ่อ
อิ
อี - ติ้ดตี่ มิดหมี
ดิบดี ริบหนี่
เออ
เออ - เลิกเล่อ
เยิ่นเย้อ เถิดเทิง
อี
อะ - อึกอัก ทึกทัก
อือ
อา - ฮือฮา หวือหวา
บางครั้งจะพบคำซ้อนเพื่อเสียงสระต่างส่วน
ต่างระดับของลิ้นกันก็มี เช่น กรีดกราย
เป็นต้น
ลักษณะความหมายของคำซ้อนเพื่อเสียง
๑. คำซ้อนเพื่อเสียงที่มีความหมายทั้งสองคำ เช่น
โซเซ คู่คี่ นุ่มนิ่ม
๒.
คำซ้อนเพื่อเสียงที่มีความหมายอยู่ที่คำใดคำหนึ่งเพียงคำเดียว เช่น
ท้อแท้ เพลิดเพลิน
๓.
คำซ้อนเพื่อเสียงที่มีความหมายร่วมกัน ถ้าแยกคำจะไม่มีความหมายทั้ง ๒
เช่น หลุกหลิก จุ๋มจิ๋ม
หยุมหยิม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)